The Legend of Lord Ganesha

Ganesh is one of the best-known and most worshipped deities in the Hindu pantheon. His image is found throughout IndiaSri Lanka and Nepal.

Although he is known by many attributes, Ganesha’s elephant head makes him easy to identify. Ganesha is widely revered as the remover of obstacles, the patron of arts and sciences and the deva of intellect and wisdom.  As the god of beginnings, he is honoured at the start of rituals and ceremonies.

India and Hinduism has had an impact on many countries of East Asia and the Indian Subcontinent as a result of commercial and cultural contacts. Ganesha is one of many Hindu deities who reached foreign lands as a result. The worship of Ganesha by Hindus outside of India shows regional variation. The acceptance of Hindu ideas in ancient times still continue today in world religions.

In Thailand, Ganesha is called Phra Phikanet  or Phra Phikanesuan  and is worshipped as the deity of fortune and success, and the remover of obstacles. He is associated with arts, education and trade. Ganesha appears in the emblem of the Department of Fine Arts in Thailand. Large television channels and production companies have shrines in his honour in front of their premises. Few movies or television shows begin shooting without a Hindu ritual in which prayers and offerings are made to Ganesha. There are shrines to Ganesha across Thailand. One of the most revered shrines is the Royal Brahmin Temple in central Bangkok by the Giant Swing, where some of the oldest images can be found. Other old Ganesha images can be seen throughout Thailand, including a 10th-century bronze image found at Phang-Na with both Tamil and Thai inscriptions. The Hindu temple “Wat Phra Sri Umadevi” in Silom also houses a Ganesha image which was transported from India in the late 19th Century. Thai Buddhists frequently pay respect to Ganesha and other Hindu deities as a result of the overlapping Buddhist/Hindu cosmology. He is honoured with Motaka, sweets and fruit, when business is good, and he is made ridiculous by putting his picture or statue upside down, when business is down. As lord of business and diplomacy, he sits on a high pedestal outside Bangkok‘s CentralWorld (formerly World Trade Center), where people offer flowers, incense and a reverential sawasdee.

 

Mythological anecdotes of Ganesha

Lord Ganesh is the virtual son of Lord Shiva and goddess Parvathi. The story of creation of ganesh is a very fascinating one.

 

A long long time ago when Lord Shiva, was away fighting for the gods, the lady of the house, goddess Parvathi was alone at home. On one occasion, she needed someone to guard the house when she was going for a bath. Unable to think of an alternative, she used her powers to create a son, Ganesh. She instructed Ganesh to keep strict vigil on the entrance to the house and not to allow anyone into the house. Ganesh agreed and stayed on the strictest of strict vigils.

 

In the meantime Lord Shiva returned happy after a glorious victory for the gods, only to be stopped at the entrance by Ganesh. Ganesh, acting on Parvathi’s orders verbatim, did not allow Shiva to enter the house. Lord Shiva was enraged beyond control and in a fit of rage slashed the head of Ganesh. In the meantime Paravti came out from her bath and was aghast at the scene. She was very very angry at her lordship for what had happened and explained him the situation.

 

Lord Shiva wanted to make it up to Parvathi very badly and agreed to put life back into Ganesha by putting the head of the first sleeping living creature that came in sight which was sleeping with its head to the north. He sent his soldiers to go in search of the creature. The first creature which came in sight was an elephant. So Lord Shiva re-created his son with the head of the elephant. Hence the trunk of Lord Ganesha.

Parvathi was still not totally happy with the deal and wanted more. Then Shiva granted Ganesha a boon that before beginning of any undertaking or task people would worship Lord Ganesh. Thus the reason for worship of ganesha before start of any work.

Why Lord  Ganesha  has  a  broken  tusk

There are several stories, but the  most popular versions are:
He broke off a tusk and used it as a pen of writing Mahabharata, an epic poem of the Indian sub-continent, which is one of the most important text of the Hindu faith.

Ganesha and the mouse

According to one interpretation, Ganesha’s divine vehicle, the mouse or mooshikam represents wisdom, talent and intelligence.

Both Ganesha and the Mooshak love modaka, a sweet dish which is traditionally offered to them both during worship ceremonies.

ตำนานพระพิฆเนศ

ความสำคัญของพระพิฆเนศ

พระคเณศ ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศ หรือ พระคณปติ ส่วนทางอินเดีย มักเรียกกันว่า” คเณชา” เป็นเทพในศาสนาฮินดู นับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง เป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง)

พระพิฆเนศกับสังคมไทย

ในประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีการบูชาเทพองค์ต่าง ๆ ในศาสนาพราหมณ์อยู่มากมาย รวมทั้งองค์พระพิฆเณศ ซึ่งอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน ดูได้จากการพบรูปสลักพระพิฆเณศในเทวสถานตามเมืองต่างๆ ทั่วทั้งประเทศไทย โดยมีหลักฐานการค้นพบองค์เทวรูปบูชาพระพิฆเณศที่เก่าแก่ในสมัยที่ขอมเรืองอำนาจในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นต้นว่าองค์เทวรูปบูชานั้นสลักจากหิน ค้นพบทางแถบจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ

คนไทยถือว่าองค์พระพิฆเนศวรเป็นที่เคารพสักการะในฐานะองค์บรมครูแห่งศิลปวิทยาการ 18 ประการ โดยคนไทยยอมรับในองค์พระพิฆเนศวรให้เป็นเทพแห่งศิลปะทั้งมวล และเป็นเทพองค์สำคัญในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งทางศาสนาพราหมณ์ได้สถาปนาพระพิฆเนศวร เป็นเทพพระองค์แรกที่ต้องบูชาก่อนเริ่มพิธีใดๆ เป็นการคารวะในฐานะบรมครูผู้ประสาทปัญญาและความสำเร็จ สามารถขจัดอุปสรรคทั้งปวงให้หมดสิ้นไป กิจการทุกอย่างจึงสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี หน่วยงานราชการกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้ถือเอาพระพิฆเนศวรเป็นสัญลักษณ์

พระพิฆเนศวรเป็นโอรสของพระศิวะและพระแม่ปารวตี มีรูปกายเป็นมนุษย์ มีเศียรเป็นช้าง ทุกคนเคารพนับถือท่านในฐานะที่ท่านเป็น “วิฆเนศ” นั่นคือ เจ้า (อิศ) แห่งอุปสรรค (วิฆณ) เพราะเจ้าแห่งอุปสรรค ที่สามารถปลดปล่อยอุปสรรคได้ และอีกความหมายถึง ท่านเป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จในทุกศาสตร์สรรพสิ่งหรือเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นใหม่ทั้งปวง เมื่อพิจารณาความหมายในทางสัญญะ รูปกายที่อ้วนพีนั้นมีความหมายว่า ความอุดมสมบูรณ์ เศียรที่เป็นช้างมีความหมาย หมายถึงผู้มีปัญญามาก ตาที่เล็กคือ สามารถมอง แยกแยะสิ่งถูกผิด หูและจมูกที่ใหญ่หมายถึง มีสัมผัสพิจารณา ที่ดีเลิศ พระพิฆเนศวรมี หนู เป็นสหาย ซึ่งอาจเปรียบได้กับความคิด ที่พุ่งพล่าน รวดเร็ว ดังนั้น มนุษย์จึงต้องมีปัญญากำกับเป็นดั่งเจ้านายในใจตน

 

กำเนิดพระพิฆเนศ

ในคราวที่พระศิวะเทพทรงไปบำเพ็ญสมาธิเป็นระยะเวลานานอยู่นั้น พระแม่ปารวตีเนื่องจากอยู่องค์เดียวเลยเกิดความเหงา และ ประสงค์ที่จะมีผู้มาคอยดูแลพระองค์และป้องกันคนภายนอก ที่จะเข้ามาก่อความวุ่นวายในพระตำหนักใน

จึงทรงเสกเด็กขึ้นมาเพื่อเป็นพระโอรสที่จะเป็นเพื่อนในยามที่องค์ศิวะเทพ เสด็จออกไปตามพระกิจต่าง ๆ มีอยู่คราวหนึ่ง เมื่อพระนางทรงเข้าไปสรงในพระตำหนักด้านในนั้น องค์ศิวะเทพได้กลับมาและเมื่อจะเข้าไปด้านในก็ถูกเด็กหนุ่มห้ามไม่ให้เข้า เนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นใครและในลักษณะเดียวกัน ศิวะเทพก็ไม่ทราบว่าเด็กหนุ่มนั้นเป็นพระโอรสที่พระแม่ปารวตีได้เสกขึ้นมา

เมื่อพระองค์ถูกขัดใจก็ทรงพิโรธและตวาดให้เด็กหนุ่มนั้นหลีกทางให้ พลางถามว่ารู้ไหมว่ากำลังห้ามใครอยู่ ฝ่ายเด็กนั้นก็ตอบกลับว่าไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าเป็นใครเพราะตนกำลังทำตามบัญชาของพระแม่ปารวตี และทั้งสองก็ได้ทำการต่อสู้กันอย่างรุนแรง จนเทพทั่วทั้งสวรรค์เกิดความวิตกในความหายนะที่จะตามมา และในที่สุดเด็กหนุ่มนั้นก็ถูกตรีศูลของมหาเทพจนสิ้นใจ และศีรษะก็ถูกตัดหายไป

ในขณะนั้นเองพระแม่ปารวตีเมื่อได้ยินเสียงดังกึกก้องไปทั่วจักรวาลก็เสด็จออกมาด้านนอก และถึงกับสิ้นสติเมื่อเห็นร่างพระโอรสที่ปราศจากศีรษะ และเมื่อได้สติก็ทรงมีความโศกาอาดูร และตัดพ้อพระสวามีที่มีใจโหดเหี้ยมทำร้ายเด็กได้ลงคอ โดยเฉพาะเมื่อเด็กนั้นเป็นพระโอรสของพระนางเอง

เมื่อได้ยินพระนางตัดพ้อต่อว่าเช่นนั้นองค์มหาเทพก็ตรัสว่าจะทำให้เด็กนั้นกลับพื้นขึ้นมาใหม่แต่ก็เกิดปัญหา เนื่องจากหาศีรษะที่หายไปไม่ได้ และยิ่งใกล้เวลาเช้าแล้วต่างก็ยิ่งกระวนกระวายใจเนื่องจากหากดวงอาทิตย์ขึ้น แล้วก็จะไม่สามารถชุบชีวิตให้เด็กหนุ่มฟื้นขึ้นมาได้ เมื่อเห็นเช่นนั้นพระศิวะเลยโยนตรีศูลอาวุธของพระองค์ออกไปหาศีรษะ สิ่งที่มีชีวิตแรกที่พบมาและปรากฏว่าเหล่าเทพได้นำเอาศีรษะช้างมาซึ่งพระศิวะทรงนำศีรษะมาต่อให้และชุบชีวิตให้ใหม่พร้อมยกย่องให้เป็นเทพที่สูงที่สุด และขนานนามว่า พระพิฆเนศวร ซึ่งแปลว่าเทพผู้ขจัดปัดเป่าอุปสรรค และยังทรงให้พรว่าในการประกอบพิธีการต่าง ๆ ทั้งหมดนั้นจะต้องทำพิธีบูชาพระพิฆเนศวรก่อนเพื่อความสำเร็จของพิธีนั้น

มีหลายความเชื่อเรื่องงาหัก บ้างก็บอกว่าหักตั้งแต่พระวิษณุกรรมไปพบ บ้างก็ว่าเพราะต่อสู้กับพระศิวะ (บางลัทธิบอกว่าพระอุมาเอาขี้ไคลมาปั้นเป็นพระพิฆเนศไว้เฝ้าประตูห้อง ลืมบอกให้ยกเว้นพระศิวะเข้ามาได้ จึงทำให้เกิดการต่อสู้ งาจึงหัก ) บ้างก็ว่าสู้กับพระเสาร์และอื่นๆ ส่วนงาที่หักข้างใดนั้นก็เป็นที่ถกเถียงกันอยู่บ้างว่าหักซ้ายหรือหักขวา ส่วนผมว่าคงเริ่มมาจากจินตนาการของจิตรกรและปฏิมากรมากกว่าว่าถ้าจะวาดจะปั้นท่าทางแบบนี้ควรจะให้งาหักด้านไหนจึงจะสวย คิดเรื่องสวยงามมากกว่าจึงไม่สนใจข้อเท็จจริง ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่มีความจริงใดๆ เป็นเพียงจินตนาการ ดังนั้นเราก็จะเห็นรูปวาดหรือรูปปั้นมีงาหักซ้ายหักขวาให้เห็นกันจนบัดนี้ จะอย่างไรก็ตามองค์พระพิฆเนศถือเป็นรูปลักษณ์แห่งศิลปะที่งดงาม แปลกประหลาด ที่เรียกตามฝรั่งว่า เชอร์เรียลลิสซึม เป็นศิลปะแนวฝันเหนือจริง ที่ผู้คนทั้งโลกชื่นชมรักชอบ จำนวนคนรักชอบท่านในความงามที่เป็นศิลปะ

 

มุสิกะ

กาจามุกะ ผู้ซึ่งเป็นปีศาจคชสาร ที่มีรูปร่างใหญ่โต ได้ก่อกวนความสงบของสามโลกด้วยความทระนงตนว่าได้รับพรปกป้องคุ้มครองจากเทพ ปิศาจ มนุษย์และสัตว์โลกอื่นๆ แต่ด้วยความที่ พระพิฆเณศ อยู่เหนือความหายนะของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เนื่องจากพระองค์ทรงดำรงตนในรูปแบบของ กึ่งเทพกึ่งคชสาร (ช้าง) ทรยเทพจึงมอบหมายให้พระองค์ไปทำสงครามกับปีศาจตนนั้น ซึ่งในระหว่างการทำสงครามกันอย่างดุเดือด พระพิฆเณศทรงหักงาข้างขวาของพระองค์แล้วใช้เป็นหอกพุ่งเข้าใส่กาจามุกะ (นี่จึงเป็นอีกตำนานหนึ่งที่แตกต่างว่้าด้วยการเสียงาของพระพิฆเนศ) การขว้างด้วยพลังที่รุนแรง เป็นผลให้กาจามุกะกระเด็นลงไปนอนกับพื้น และรีบจำแลงกายเป็นหนูยักษ์เพื่อจะวิ่งหนี พระพิฆเณศจึงรีบกระโดดขึ้นนั่งหลังและปราบปรามจนหนูยักษ์หมดฤทธิ์เดช พระพิฆเณศจึงใช้หนูเป็นพาหนะนับแต่นั้นมา และหนูตัวนั้นก็ได้ชื่อว่า “มุสิกะ”